ประวัติอาเซียน

                                                            asean_community

                                                                                   ความเป็นมาของอาเซียน

             อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ

      วัตถุประสงค์หลัก

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
     วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
     และองค์การระหว่างประเทศ

               ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง

            อาเซียน2              

              การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ครั้งที่ 1 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี
ครั้งที่ 2 4-5 สิงหาคม 2520 ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3 14-15 ธันวาคม 2530 ประเทศฟิลิปปินส์ มะนิลา
ครั้งที่ 4 27-29 มกราคม 2535 ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
ครั้งที่ 5 14-15 ธันวาคม 2538 ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6 15-16 ธันวาคม 2541 ประเทศเวียดนาม ฮานอย
ครั้งที่ 7 5-6 พฤศจิกายน 2544 ประเทศบูรไนดารุสซาราม บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8 4-5 พฤศจิกายน 2545 ประเทศกัมพูชา พนมเปญ
ครั้งที่ 9 7-8 ตุลาคม 2546 ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี
ครั้งที่ 10 29-30 พฤศจิกายน 2547 ประเทศลาว เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11 12-14 ธันวาคม 2548 ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12 11-14 มกราคม 25501 ประเทศฟิลิปปินส์ เซบู
ครั้งที่ 13 18-22 พฤศจิกายน 2550 ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
ครั้งที่ 14 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552 ประเทศไทย ชะอำ, หัวหินพัทยา
ครั้งที่ 15 23-25 ตุลาคม 2552 ประเทศไทย ชะอำ, หัวหิน

ใส่ความเห็น